ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

➤ต่อมไร้ท่อหลักของร่างกายประกอบด้วย

1.ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus)


ตั้งอยู่ที่ฐานของสมองด้านหน้าของทาลามัส โดยมีร่องไฮโพทาลามัสคั่นกลาง ด้านหน้าของไฮโพทาลามัสคือ จุดที่เส้นประสาทจากลูกตามาบรรจบและไขว้กัน (optic chiasm) ส่วนล่างของไฮโพทาลามัสคือ tubercinerium ซึ่งมีส่วนตรงกลางเรียกว่า median eminence หลอดเลือดแดงจะแตกแขนงเป็นหลอดเลือดฝอยแล้วรวมตัวไหลลงไปตามก้านของต่อมใต้ สมองไปเลี้ยงต่อมใต้สมองส่วนหน้าเรียกระบบหลอดเลือดนี้ว่า hypophyseal portal system ที่ระบบไหลเวียนนี้เป็นแหล่งที่ฮอร์โมนจากไฮโพทาลามัส หลั่งออกมา ซึ่งเป็น releasing hormone (RH) และinhibiting hormone (IH) มีผลไปควบคุมการทำงานของต่อมใต้สมอง 
ฮอร์โมนที่สร้างจากไฮโพทาลามัสได้แก่   Releasing hormone :  Growth hormone  releasing  hormone (GHRH), prolactin  releasing hormone (PRH), Gonadotrophicreleasing hormone (GnRH),Thyriod releasing  hormone  (TRH), corticotropic releasing  hormone (CRH) ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและยับยั้งการหลั่ง (inhibiting hormone)

2.ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland)

ต่อมใต้สมองมีขนาดประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร เป็นต่อมที่อยู่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโปทาลามัส แบ่งได้ 3 ส่วนคือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior pituitary ) , ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ( interior pituitary ) และต่อมใต้สมอง ส่วนหลัง ( posterior pituitary )
2.1 ต่อมใต้สมองส่วนหน้า สร้างฮอร์โมนที่สำคัญ ๆได้แก่ 
        
         2.1.1 TSH  ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมธัยรอยด์ให้มีการสร้างฮอร์โมน
         2.1.2 ACTH ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไตส่วนนอก
         2.1.3 Prolatin  ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างน้ำนมและกระตุ้นการขยายเต้านมในหญิงที่มีครรภ์
         2.1.4 GH ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกายโดยเฉพาะกระดูกและกล้ามเนื้อ
         2.1.5 GnH  สามารถแบ่งได้เป็น
                 2.1.5.1  FSH  ในเพศชายทำหน้าที่ในการสร้างอสุจิ  ส่วนในเพศหญิงทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่
สร้างฮอร์โมน Estrogen
                 2.1.5.2  LH ในเพศชาย ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนชาย  ส่วนในเพศหญิงจะทำให้เกิดการตกไข่ สร้าง
ฮอร์โมน Progesterone
   
2.2  ต่อมใต้สมองส่วนกลาง สร้างฮอร์โมนที่สำคัญคือ
        
       2.2.1 MSH  กระตุ้นให้เซลเม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น
   
2.3  ต่อมใต้สมองส่วนหลัง สร้างฮอร์โมนที่สำคัญได้แก่ 
       
       2.3.1 Oxytocin ทำหน้าที่ กระตุ้นต่อมน้ำนม  และการบีบตัวของมดลูก  ทำให้มดลูกหดตัว  ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
และยังช่วยในการหลั่งน้ำกามและเร่งการเคลื่อนของตัวอสุจิในเพศชาย
       2.3.2 ADH  ทำหน้าที่ช่วยในการดูดน้ำกลับจากไต   ช่วยในการรักษาปริมาณน้ำในร่างกาย หากร่างกายขาดฮอร์โมนนี้ จะ
ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า เบาจืด คือ ปัสสาวะมากและเจือจาง
ก่อนหน้านี้  หน้าถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น