ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

3.ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)



 เป็นต่อมไร้ท่อที่ อยู่ด้านหน้าของลำคอ โดยอยู่ด้านข้างและใต้ต่อกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) ต่อมนี้มี 2 พู แผ่ออกทางด้านข้างและคลุมพื้นที่บริเวณด้านหน้าและด้านข้างของหลอดลมรวมทั้ง ส่วนของกระดูกและทั้งสองพูนี้จะเชื่อมกันที่คอคอดไทรอยด์ (isthmus) ซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าต่อกระดูกอ่อนของหลอดลม (trachea cartilage) ชิ้นที่สองหรือสาม ขนาดของต่อมจะเล็กลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ภายในต่อมประกอบด้วยถุงฟอลลิเคิล (follicle) ทรงกลมเล็ก ๆ จำนวนมากที่ผนังประกอบด้วยเซลล์เรียงเป็นชั้นเดียวเป็นแหล่งที่สร้างฮอร์โมน แล้วส่งเก็บที่ lumen เมื่อร่างกายต้องการจะถูกปล่อยเข้าสู่ระบบไหลเวียน ฮอร์โมนนี้มีลักษณะคล้ายวุ้นหรือ คอลลอยด์เรียกว่า ไทโรโกลบูลิน (Thyroglobulin) 
มีสองชนิดคือ tetraiodothyronine หรือเรียกว่า Thyroxine (T4) และ Triiodothyronine (T3) ฮอร์โมนนี้จะถูกเก็บไว้ในต่อมและจะถูกหลั่งเมื่อถูกกระตุ้นจากต่อมใต้สมอง ส่วนหน้า ฮอร์โมนในเลือดอยู่ในรูป T4 มากกว่า T3 แต่ T3 มีความสามารถในการออกฤทธิ์แรงกว่าประมาณ 3-4 เท่า

4.ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland)

ลักษณะเป็นก้อนกลมเล็ก  ฝังอยู่ด้านหลังของเนื้อเยื่อไทรอยด์ในคนมีทั้งหมด 4 ต่อม ข้างละ 2 ต่อม เป็นต่อมขนาดเล็ก ฮอร์โมนสำคัญที่สร้างจากต่อมนี้ คือ
ฮอร์โมนพาราทอร์โมน (Parathyroid hormone; PTH) ทำหน้าที่รักษาสมดุลของแคลเซียมในร่างกายให้คงที่ ถ้าหากมีฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะมีผลทำให้เกิดการสะสมของแคลเซียมที่ไต ที่หลอดเลือด มีการดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกและฟันออกมา ทำให้เกิดอาการกระดูกเปราะบางและหักง่าย ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน ฟันหักและ  ผุง่าย 
ถ้าต่อมพาราไทรอยด์บกพร่องไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ จะมีผลทำให้สูญเสียการดูดกลับที่ท่อหน่วยไตลดลงทำให้สูญเสียแคลเซียมไปกับ น้ำปัสสาวะและเป็นผลทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดต่ำลงมาก กล้ามเนื้อจะเกิดอาการเกร็งและชักกระตุก  แขนขาสั่น ปอดทำงานไม่ได้  อาการอาจหายไปเมื่อฉีดด้วยพาราทอร์โมนและให้วิตามินดีเข้าร่วมด้วย

5.ตับอ่อน (Pancreas)



ตับอ่อนตั้งอยู่ที่ด้านบนซ้ายของช่องท้อง โดยวางตัวจากส่วนโค้งของลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม (duodenum ) ถึงม้าม (spleen) ละด้านหลังของกระเพาะ (stomach) มีลักษณะค่อนข้างแบน มีความยาวประมาณ 12 – 15 เซนติเมตร ตับอ่อนทำหน้าที่ทั้งเป็นต่อมมีท่อคือการสร้างน้ำย่อยไปที่ลำไส้เล็กและเป็น ต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมนเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนจะรวมกันเป็นกลุ่ม มีชื่อว่า ไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ ( Islets of Langerhans ) มีปริมาณ 1 – 3 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อเยื่อตับอ่อนทั้งหมด
ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเส้นเลือด นั่นคือ 
อินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ต่ำลง และ กลูคากอน (Glucagon) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นโดยทำงานตรงข้ามกับ ฮอร์โมนอินซูลิน
ก่อนหน้านี้  หน้าถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น