ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

จุดประสงค์

  1. เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ
  2. เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  3. เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลทั่วไปที่สนใจ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน 

คุณครูกิติพงศ์ ผาเจริญ

คณะผู้จัดทำ

  1. ณัฐชนน      คำแผลง               ม.6/13  เลขที่ 3
  2. บรรณวิชญ์  บุตรอากาศ           ม.6/13  เลขที 6
  3. ปิยังกูร         อังกูรสิทธิ์             ม.6/13  เลขที่ 7
  4. พัทธนันท์    พิมล                     ม.6/13  เลขที่ 8
  5. กรัณยภาส   นิมิตรนิวัฒน์         ม.6/13  เลขที่ 9
  6. ภัค               เหลืองอ่อน          ม.6/13  เลขที่ 11
  7. ภูบดี            ธรรมพิทักษ์พงษ์  ม.6/13  เลขที่ 12
  8. อรรณพ       พานิชชัยพัฒน์      ม.6/13  เลขที่ 16
  9. อริย์ธัช        พึ่งรุ่ง                     ม.6/13  เลขที่ 17
  10. วัชริศ          ปานสกุณ               ม.6/13  เลขที่ 30
ก่อนหน้านี้ หน้าแรก

7.ต่อมเพศ (Gonad)

1.ฮอร์โมนในเพศชาย


Testosterone กระตุ้นทำให้อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายทั้งภายนอกและภายในเจริญเติบโตเต็มที่องค ชาติขยายใหญ่และยาวขึ้น ให้เด็กชายเข้าสู่วัยหนุ่มแสดงลักษณะเพศชายให้เด่นชัดขึ้น นอกจากนั้นยังมีผลทั้งทางด้านจิตใจ เช่น มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ รักแร้ หน้าแข้ง แขน ขา มีหนวดและเครา มีลูกกระเดือก ไหล่กว้าง สะโพกแคบ กล้ามเนื้อเจริญเติบโตขึ้นและเห็นเด่นชัด เสียงห้าว ชอบการต่อสู้แข่งขัน กระตุ้นให้เกิดสนใจเพศหญิง

2.ฮอร์โมนในเพศหญิง


2.1 Estrogen กระตุ้นให้อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงทั้งภายนอกและภายในเจริญเติบโตเต็มที่ ให้เด็กหญิงเข้าสู่วัยสาวแสดงลักษณะเพศหญิงให้เด่นชัดขึ้น นอกจากนั้นยังมีผลทั้งทางด้านจิตใจ เช่น สะโพกผาย อวัยวะเพศและเต้านมใหญ่ขึ้น มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น มีขนที่รักแร้และอวัยวะเพศ เสียงเล็ก รักสวยรักงาม จิตใจอ่อนโยน ไม่ชอบการต่อสู้
2.2 Progesterone สร้างจาก corpus luteum กระตุ้นการเจริญของเยื่อบุชั้นในของมดลูกเพื่อเตรียมพร้อมในการฝังตัวของไข่ ที่ปฏิสนธิแล้ว ยับยั้งการตกไข่ ( ยับยั้งไม่ให้ต่อมใต้สมองหลั่ง FSH มากระตุ้นให้ฟอลลิเคิลในรังไข่เจริญ ) กระตุ้นให้ต่อมน้ำนมเจริญมากขึ้น ( ผู้หญิงจะรู้สึกว่าคัดที่เต้านมๆจะขยายใหญ่ขึ้น )

8.ต่อมเหนือสมอง (Pineal gland)




ต่อมไพเนียล เป็นต่อมเล็กๆ รูปไข่ หรือรูปกรวย คล้าย ๆ เมล็ดสน (pine cone) เป็นที่มาของชื่อ pineal gland ลักษณะค่อนข้างแข็ง สีน้ำตาล ขนาดยาวจากหน้าไปหลัง 5-10 มิลลิเมตร กว้าง และสูง 3-7 มิลลิเมตร หนัก 0.2 กรัม ยื่นมาจากด้านบนของไดเอนเซฟฟาลอน หรืออยู่ด้านล่างสุดของโพรงสมองที่สาม ประกอบด้วยเซลล์ 2 ประเภท คือเซลล์ไพเนียล( pinealocytes) และเซลล์ไกลอัล (glial cell) จัดอยู่ในระบบประสาทคือการรับตัวกระตุ้นการมองเห็น (visual nerve stimuli) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นดวงตาที่ 3 ทำหน้าที่ควบคุมร่างกาย โดยทำงานร่วมกับต่อมไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งต่อมไฮโปทารามัส จะทำหน้าที่เกี่ยว ความหิว ความกระหาย เรื่องเซ็กส์ และนาฬิกาชีวิตซึ่งควบคุมอายุของมนุษย์ และเป็นต่อมไร้ท่อทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน
เมลาโทนิน (melatonin) ยับยั้งการเจริญเติบโตของวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้าลง ระงับการหลั่งโกนาโคโพรฟินให้น้อยลง ฮอร์โมนนี้หลั่งทากตอนเป็นเด็กอายุประมาณ 1-5 ปีและจะลดลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ถ้าต่อมไพนิลไม่สามารถสร้าง เมลาโทนินได้ จะทำให้เป็นหนุ่มเร็วกว่าปกติ แต่ถ้าสร้างมากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าปกติ

ก่อนหน้านี้ หน้าถัดไป

6.ต่อมหมวกไต (Adrenal gland)




ต่อมหมวกไตตั้งอยู่ที่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง จึงเรียกว่าต่อมหมวกไต แต่ละต่อมประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้นคือ
ต่อมหมวกไตด้านนอกหรืออะดรีนัลคอร์เทกซ์ ( adrenal cortex )
ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla )
ซึ่งทั้งสองส่วนจะผลิตฮอร์โมนพวกสารสเตอรอยด์ที่ทำหน้าที่ต่างกัน การสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอกต้องอาศัยฮอร์โมน ACTH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้ามากระตุ้น
ต่อมหมวกไตมีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าร่างกายขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ฮอร์โมนในกลุ่มนี้จะควบคุมเมแทบอลิซึมของ คาร์โบไฮเดรท ไขมันและโปรตีน รักษาระดับสารน้ำในร่างกายและช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับความเครียดต่อ เหตุการณ์ต่างๆทั้งในชีวิตประจำวันและยามฉุกเฉิน ซึ่งแบ่งประเภทฮอร์โมนได้ดังนี้

ฮอร์โมนมิเนอราโลคอร์ติคอยด์ เป็นฮอร์โมนที่ช่วยรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุภายในร่งกาย ฮอร์โมนที่สำคัญในกลุ่มนี้คือ แอลโดสเทอโรน (aldosterone) ซึ่งจะหลั่งออกมามากขึ้นในขณะที่ร่างกายขาดน้ำหรือความเข้มข้นของโซเดียมใน เลิอดลดต่ำลง โดยทำหน้าที่กระตุ้นท่อไตให้ดูดซึมน้ำ และโซเดียมเข้าสู่กระแสเลือด และขับถ่ายโพแทสเซียมออกสู่ท่อไต
ฮอร์โมนเพศ อะดรีนัลคอร์เทกซ์สังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ ทั้งชายและหญิง (เทสโทสเทอโรนและ เอสโทรเจน) โดยจะผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมาก แต่เมื่อเทียบกับการสังเตราะห็จากอวัยวะเพศแล้วถือว่าน้อยมาก ทำให้การสังเคราะห์จากอะดรีนัลคอร์เทกซ์มีผลน้อยมาก ยกเว้นฮอร์โมนเทสโทสเทกโรนจะมีผลทำให้เกิดขนที่รักแร้ หัวเหน่า ทั้งเพศชายและเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
อะดรีนาลีน หรือ เอพิเนฟรีน (epinepinephirne) มีผลต่อการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกายมากมายได้แก่ ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นแรง และเร็วขึ้น ความดันเลือดสูง หลอดลมขยาย ม่านตาขยาย ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น เส้นเลือดอาร์เทอรี่ที่ไปหล่อเลี้ยงที่สมอง หัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อขยาย  เป็นต้น
นอร์อะดรีนาลีนหรือ นอร์เอพิเนฟรีน (norepinefphirne) เป็นสารเดียวกับสารสื่อประสาทที่หลั่งจากปลายประสาทที่ซิมพาเทติก ผลของฮอร์โมนชนิดนี้คล้ายกับอะดรีนาลีน ยกเว้นผลที่มีต่อเส้นเลือด เมื่อร่างกายเผชิญกับภาวะต่าง ๆ เช่น เมื่อเผชยหน้ากับสัตว์ร้าย หรือศัตรู ตื่นเต้น ตกใจ ฯลฯ ไฮโพทาลามัสจะส่งกระแสประสาทซิมพาเทติกมากระตุ้นอะดรีนัลเมดัลลา ให้หลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน และนอร์อะดรีนาลีน ฮอร์โมนทั้งสองจะทำให้ร่างกายพร้อมที่จะสู้และตอบสนองต่อภาาวะเครียดต่าง ๆ
  

3.ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)



 เป็นต่อมไร้ท่อที่ อยู่ด้านหน้าของลำคอ โดยอยู่ด้านข้างและใต้ต่อกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) ต่อมนี้มี 2 พู แผ่ออกทางด้านข้างและคลุมพื้นที่บริเวณด้านหน้าและด้านข้างของหลอดลมรวมทั้ง ส่วนของกระดูกและทั้งสองพูนี้จะเชื่อมกันที่คอคอดไทรอยด์ (isthmus) ซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าต่อกระดูกอ่อนของหลอดลม (trachea cartilage) ชิ้นที่สองหรือสาม ขนาดของต่อมจะเล็กลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ภายในต่อมประกอบด้วยถุงฟอลลิเคิล (follicle) ทรงกลมเล็ก ๆ จำนวนมากที่ผนังประกอบด้วยเซลล์เรียงเป็นชั้นเดียวเป็นแหล่งที่สร้างฮอร์โมน แล้วส่งเก็บที่ lumen เมื่อร่างกายต้องการจะถูกปล่อยเข้าสู่ระบบไหลเวียน ฮอร์โมนนี้มีลักษณะคล้ายวุ้นหรือ คอลลอยด์เรียกว่า ไทโรโกลบูลิน (Thyroglobulin) 
มีสองชนิดคือ tetraiodothyronine หรือเรียกว่า Thyroxine (T4) และ Triiodothyronine (T3) ฮอร์โมนนี้จะถูกเก็บไว้ในต่อมและจะถูกหลั่งเมื่อถูกกระตุ้นจากต่อมใต้สมอง ส่วนหน้า ฮอร์โมนในเลือดอยู่ในรูป T4 มากกว่า T3 แต่ T3 มีความสามารถในการออกฤทธิ์แรงกว่าประมาณ 3-4 เท่า

4.ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland)

ลักษณะเป็นก้อนกลมเล็ก  ฝังอยู่ด้านหลังของเนื้อเยื่อไทรอยด์ในคนมีทั้งหมด 4 ต่อม ข้างละ 2 ต่อม เป็นต่อมขนาดเล็ก ฮอร์โมนสำคัญที่สร้างจากต่อมนี้ คือ
ฮอร์โมนพาราทอร์โมน (Parathyroid hormone; PTH) ทำหน้าที่รักษาสมดุลของแคลเซียมในร่างกายให้คงที่ ถ้าหากมีฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะมีผลทำให้เกิดการสะสมของแคลเซียมที่ไต ที่หลอดเลือด มีการดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกและฟันออกมา ทำให้เกิดอาการกระดูกเปราะบางและหักง่าย ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน ฟันหักและ  ผุง่าย 
ถ้าต่อมพาราไทรอยด์บกพร่องไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ จะมีผลทำให้สูญเสียการดูดกลับที่ท่อหน่วยไตลดลงทำให้สูญเสียแคลเซียมไปกับ น้ำปัสสาวะและเป็นผลทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดลดต่ำลงมาก กล้ามเนื้อจะเกิดอาการเกร็งและชักกระตุก  แขนขาสั่น ปอดทำงานไม่ได้  อาการอาจหายไปเมื่อฉีดด้วยพาราทอร์โมนและให้วิตามินดีเข้าร่วมด้วย

5.ตับอ่อน (Pancreas)



ตับอ่อนตั้งอยู่ที่ด้านบนซ้ายของช่องท้อง โดยวางตัวจากส่วนโค้งของลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม (duodenum ) ถึงม้าม (spleen) ละด้านหลังของกระเพาะ (stomach) มีลักษณะค่อนข้างแบน มีความยาวประมาณ 12 – 15 เซนติเมตร ตับอ่อนทำหน้าที่ทั้งเป็นต่อมมีท่อคือการสร้างน้ำย่อยไปที่ลำไส้เล็กและเป็น ต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมนเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนจะรวมกันเป็นกลุ่ม มีชื่อว่า ไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ ( Islets of Langerhans ) มีปริมาณ 1 – 3 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อเยื่อตับอ่อนทั้งหมด
ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเส้นเลือด นั่นคือ 
อินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ต่ำลง และ กลูคากอน (Glucagon) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นโดยทำงานตรงข้ามกับ ฮอร์โมนอินซูลิน
ก่อนหน้านี้  หน้าถัดไป

➤ต่อมไร้ท่อหลักของร่างกายประกอบด้วย

1.ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus)


ตั้งอยู่ที่ฐานของสมองด้านหน้าของทาลามัส โดยมีร่องไฮโพทาลามัสคั่นกลาง ด้านหน้าของไฮโพทาลามัสคือ จุดที่เส้นประสาทจากลูกตามาบรรจบและไขว้กัน (optic chiasm) ส่วนล่างของไฮโพทาลามัสคือ tubercinerium ซึ่งมีส่วนตรงกลางเรียกว่า median eminence หลอดเลือดแดงจะแตกแขนงเป็นหลอดเลือดฝอยแล้วรวมตัวไหลลงไปตามก้านของต่อมใต้ สมองไปเลี้ยงต่อมใต้สมองส่วนหน้าเรียกระบบหลอดเลือดนี้ว่า hypophyseal portal system ที่ระบบไหลเวียนนี้เป็นแหล่งที่ฮอร์โมนจากไฮโพทาลามัส หลั่งออกมา ซึ่งเป็น releasing hormone (RH) และinhibiting hormone (IH) มีผลไปควบคุมการทำงานของต่อมใต้สมอง 
ฮอร์โมนที่สร้างจากไฮโพทาลามัสได้แก่   Releasing hormone :  Growth hormone  releasing  hormone (GHRH), prolactin  releasing hormone (PRH), Gonadotrophicreleasing hormone (GnRH),Thyriod releasing  hormone  (TRH), corticotropic releasing  hormone (CRH) ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและยับยั้งการหลั่ง (inhibiting hormone)

2.ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland)

ต่อมใต้สมองมีขนาดประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร เป็นต่อมที่อยู่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโปทาลามัส แบ่งได้ 3 ส่วนคือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior pituitary ) , ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ( interior pituitary ) และต่อมใต้สมอง ส่วนหลัง ( posterior pituitary )
2.1 ต่อมใต้สมองส่วนหน้า สร้างฮอร์โมนที่สำคัญ ๆได้แก่ 
        
         2.1.1 TSH  ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมธัยรอยด์ให้มีการสร้างฮอร์โมน
         2.1.2 ACTH ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไตส่วนนอก
         2.1.3 Prolatin  ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างน้ำนมและกระตุ้นการขยายเต้านมในหญิงที่มีครรภ์
         2.1.4 GH ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกายโดยเฉพาะกระดูกและกล้ามเนื้อ
         2.1.5 GnH  สามารถแบ่งได้เป็น
                 2.1.5.1  FSH  ในเพศชายทำหน้าที่ในการสร้างอสุจิ  ส่วนในเพศหญิงทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่
สร้างฮอร์โมน Estrogen
                 2.1.5.2  LH ในเพศชาย ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนชาย  ส่วนในเพศหญิงจะทำให้เกิดการตกไข่ สร้าง
ฮอร์โมน Progesterone
   
2.2  ต่อมใต้สมองส่วนกลาง สร้างฮอร์โมนที่สำคัญคือ
        
       2.2.1 MSH  กระตุ้นให้เซลเม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น
   
2.3  ต่อมใต้สมองส่วนหลัง สร้างฮอร์โมนที่สำคัญได้แก่ 
       
       2.3.1 Oxytocin ทำหน้าที่ กระตุ้นต่อมน้ำนม  และการบีบตัวของมดลูก  ทำให้มดลูกหดตัว  ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
และยังช่วยในการหลั่งน้ำกามและเร่งการเคลื่อนของตัวอสุจิในเพศชาย
       2.3.2 ADH  ทำหน้าที่ช่วยในการดูดน้ำกลับจากไต   ช่วยในการรักษาปริมาณน้ำในร่างกาย หากร่างกายขาดฮอร์โมนนี้ จะ
ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า เบาจืด คือ ปัสสาวะมากและเจือจาง
ก่อนหน้านี้  หน้าถัดไป

➤ บทบาทหน้าที่ของฮอร์โมน


แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. การสืบพันธุ์ โดยฮอรฺโมนจากระบบสืบพันธุ์ เช่น แอนโดรเจน (androgen) เอสโตรเตน (estrogen) โพรเจสเคอโรน(progesterone) luteinizing hormone  follicle stimulating hormone และ โพรแลกติน ฮอร์โมนเหล่านี้จะช่วยควบคุมการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงตามวัยของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น การสร้างอสุจิ  การตั้งครรภ์ การคลอดเป็นต้น
2. การเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายทำให้มีการเจนิญเติบโตของเนื้อเยื่อของ ร่างกายการเจริญเติบโตตามวัย การแก่ชรา ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องคือ Growth hormone, Thyroxin hormone, Insulin
3. การสร้างและการใช้พลังงาน คือ ควบคุมกระบวนการ Metabolism ภายในร่างกายให้มีการใช้พลังงานของเซลล์ของอวัยวะต่างๆ เช่น ควบคุมกระบวนการ Metabolism ของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน โดยมีฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง คือ อินซูลิน เอพิเนฟริน คอติซอล
4. การรักษาสภาวะภายในร่างกายให้คงที่ เช่นการควบคุมเกลือแร่ และน้ำ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมภายในร่างกายให้สมดุล ได้แก่ แอลโดสเตอโรน ควบคุมโซเดียม ADH (Antidiuretic hormone) ควบคุมปริมาณน้ำ เป็นต้น

➤ประเภทและคุณสมบัติของฮอร์โมน

1. Paracrine hormone คือฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์โดยการไปกระตุ้นหรือยับยั้งกระบวนการบางอย่างในเซลล์เป้าหมายที่อยู่ข้างเคียง
2. Autocrine hormone คือฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ที่เซลล์ผลิตฮอร์โมนเอง
3. Endocrine hormone คือ ฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ต่อเซลล์เป้าหมายที่อยู่ไกลออกไปจากเซลล์ที่สร้างออร์โมน
4. Neurocrine hormone คือฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ประสาท ส่งไปตามเส้นใยประสาทเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560


❤ โรคระบบต่อมไร้ท่อ 




ต่อมไร้ท่อ(Endocrine Gland) หมายถึงต่อมที่ไม่มีท่อประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่สร้างและหลั่งสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน (hormone) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือดหรือน้ำเหลืองไปควบคุมหรือดัดแปลงสมรรถภาพของเซลล์ของของอวัยวะเป้าหมาย (target organ)  ที่อยู่ไกลออกไป หรืออยู่ใกล้เคียงกัน  มีลักษณะการทำงานค่อนข้าช้า แต่ได้ผลการทำงานที่นาน ซึ่งฮอร์โมนมีความสำคัญต่อร่างกายและมีอิธพลต่อพฤติกรรมของคนเราอโดยฮอร์โมนแต่ล่ะชนิดจะทำงานไปพร้อมๆกันเพื่อรักษาสมดุลของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ



หน้าที่สำคัญคือ ควบคุมระบบพลังงานของร่างกาย ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ำนม ถ้าเกิดความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่มีการผลิตฮอร์โมนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะส่งผลเฉพาะต่ออวัยวะที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนนั้นๆ ให้ทำงานผิดปกติไปด้วย ระบบต่อมไร้ท่อจึงถือเป็นระบบสื่อสารภายในร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมเชื่อมโยง ติดต่อประสานกับการทำงานของระบบอื่นๆในร่างกาย ลักษณะการทำงานจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ให้ผลระยะยาวนาน เช่นการเจริญเติบโตของร่างกาย การผลิตน้ำนม ซึ้งต้องอาศัยเวลาจึงจะแสดงผลให้ปรากฏ